ฤกษ์ดี วันดี เดือนสิงหาคม 2557



ฤกษ์ดี ยามดี สำหรับประการมงคลต่าง ๆ ในสิงหาคม พ.ศ. 2557 (มหาหมอดู)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก mahamodo.com

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 06.00-06.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกรกฎ ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 08.12-09.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 10.24-11.36 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 11.48-12.48 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00-14.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 07.48-08.36 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 10.00-11.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 11.12-12.24 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 12.36-13.36 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 15.00-15.48 น. ลัคนาสถิตย์ราศีพิจิก ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 เวลา 07.24-08.12 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 เวลา 09.36-10.36 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 เวลา 10.48-12.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 เวลา 12.12-13.12 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 เวลา 14.36-15.24 น. ลัคนาสถิตย์ราศีพิจิก ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 07.15-08.15 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 09.30-10.30 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 10.45-11.45 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 12.00-13.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 14.30-15.15 น. ลัคนาสถิตย์ราศีพิจิก ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 07.00-07.48 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับแรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 09.12-10.12 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับแรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 10.24-11.24 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับแรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 11.36-12.36 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับแรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00-15.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีพิจิก ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับแรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 06.45-07.45 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 09.00-10.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 10.15-11.15 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 11.30-12.30 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00-14.45 น. ลัคนาสถิตย์ราศีพิจิก ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 17.00-17.45 น. ลัคนาสถิตย์ราศีธนู ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 18.30-18.45 น. ลัคนาสถิตย์ราศีมังกร ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 06.12-07.12 น. ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ ประกอบด้วยมหัทธโนฤกษ์ ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 08.36-09.36 น. ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ ประกอบด้วยภูมิปาโลฤกษ์ ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 09.48-10.48 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทศาตรีฤกษ์ ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 11.00-12.00 น. ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์ ประกอบด้วยเทวีฤกษ์ ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปี มะเมีย

            ฤกษ์ วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 13.24-14.24 น. ลัคนาสถิตย์ราศีพิจิก ประกอบด้วยราชาฤกษ์ ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปี มะเมีย

           ส่วนจะเอาฤกษ์ไปใช้นั้นให้อ่านความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ด้านล่างนะครับ จะได้เอาฤกษ์ไปใช้ถูกงาน

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องฤกษ์ ฤกษ์ดี เดือนกันยายน 2557   

          ฤกษ์ หมายถึง คราวหรือเวลา ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์ อำนวยความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ประกอบการนั้น ๆ ฤกษ์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ฤกษ์บนและฤกษ์ล่าง

         ฤกษ์บน เป็นชัยมงคลเบื้องสูง โดยถือตำแหน่งของพระจันทร์และดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ เป็นหลัก คือ กำหนดโดยจันทร์ พระจันทร์ต้องดีไม่เป็นอริ มรณะ และวินาศแก่ผู้ประกอบการ พระจันทร์โคจรให้คุณเช่นจันทร์ครุสุริยา ทางโหราศาสตร์ใด้กำหนดฤกษ์ไว้ 9 ฤกษ์ ได้แก่

      ทลิทโทฤกษ์     มหัทธโณฤกษ์   โจโรฤกษ์
      ภูมิปาโลฤกษ์     เทศาตรีฤกษ์     เทวีฤกษ์
      เพชฌฆาตฤกษ์     ราชาฤกษ์      สมโณฤกษ์

        ความหมายหรือวิธีการใช้แต่ละฤกษ์ดูด้านล่างนะครับ เพราะแต่ละฤกษ์มีการนำไปใช้เฉพาะเรื่อง เช่น การขอแต่งงาน หมั้นสาว ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ ฯลฯ ให้ใช้ ทลิทโทฤกษ์

        ฤกษ์ล่าง ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยให้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถี ขึ้น แรม และเดือน ปี เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น วันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ และมีดิถี คือ ขึ้น แรม ดิถีธงชัย ดิถีพิฆาต อีกทั้งวันจม วันฟู วันลอย กทิงวัน อัคนิโรธ ทักทิน ยมขันธ์ จัดเป็นฤกษ์ย่อยต่าง ๆ รวมเรียกว่า "ฤกษ์ล่าง" หรือ (ภูมิดล)

        หมายเหตุ : ฤกษ์ที่ให้ไว้ด้านบน (ฤกษ์มงคลต่าง ๆ ฤกษ์ดีสิงหาคม 2557) นั้นคำนวณจากหลักฤกษ์บนและฤกษ์ล่างประกอบกัน

ความหมายและการนำฤกษ์ทั้ง 9 ไปใช้

1. ทลิทโทฤกษ์

        ได้แก่ฤกษ์ที่ 1, 10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง

        ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ "ชูชก" มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์" คือฤกษ์ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาทฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์

        เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่างๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น  การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านขายของชำ ของเก่าชำรุด สมัครงาน ทำการใด ๆ ที่ริเริ่มใหม่

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         ฤกษ์นี้ใช้สำหรับ ขอผัดผ่อนหนี้ ขอหมั้น ขอแต่งงาน ขอทำงาน ขอสมัครงาน ขอร้อง สู่ขอ ขอคืนดี ขอเรี่ยไร ขอส่วนแบ่ง ขอกู้เงิน ยืมเงิน ขอผ่อนผัน ขอให้อุปการะ ขอให้ค้ำประกัน ขอซ่อม ขอร้อง ร้องขอ ขอความเป็นธรรม ขอร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ สรุปคือบรรดาการขอ (ขอร้อง) ทุกอย่างให้ใช้ฤกษ์นี้
 
2. มหัทธโนฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 2, 11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และสารพัดงานมงคล

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

     เป็นการกระทำมั่นคงถาวร เช่น สร้างบ้านให้อยู่นาน ๆ เปิดร้าน เปิดบริษัท เอารถออกจากอู่ ถอยรถใหม่ เปลี่ยนชื่อ อุปสมบท ลาสิกขา และงานมงคลทั้งปวง
 
3. โจโรฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 3, 12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์" คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยง ๆ ในระยะสั้น ๆ การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบแบบใช้กำลัง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         โจรจะไปปล้นบ้านใครให้ถือเอาฤกษ์นี้  ฤกษ์แหกคุก ฤกษ์หนีการจับกุม การเอาเปรียบคนอื่น จะไปจับผิดใครให้ใช้ฤกษ์นี้ การปรับทุจริต เป็นฤกษ์ฉกฉวย หรือเป็นการข่มคนอื่น ไปต่อสู้คดี ขึ้นโรงขึ้นศาล คือการทำเพื่อให้ชนะคนอื่น หรือแม้กระทั่งการเอาเปรียบคนอื่น ฤกษ์นี้ยังหมายถึง การท่องเที่ยว การผจญภัย การสอบชิงทุน การแข่งขัน การแข่งกีฬา การข่มขวัญศัตรู การปรับปรุงแก้ไข การปฏิวัติ รวมทั้งเอารถออกจากอู่ (จากการซ่อม) หรือออกจากโชว์รูม (ถอยรถใหม่) ฤกษ์นี้ไม่เหมาะในการลงทุน อาจทำให้ผิดหวังและถูกเบียดเบียนจากคนในเครื่องแบบ
 
4. ภูมิปาโลฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 4 , 13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาเปิดอาคารห้างร้าน และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         ฤกษ์นี้ที่ใช้ในการทำให้มั่นคงระยะยาว ไม่ใช่ฤกษ์หวังผลในระยะสั้นๆ เช่น สร้างหอพัก สร้างบ้านจัดสรร เพื่อกินกำไรในระยะยาว ให้ความสมบูรณ์พูนสุข ความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่หวังผลรวดเร็ว แต่หวังผลในระยะยาวคือนานๆ (มั่งคงถาวร) ฤกษ์นี้เหมาะสำหรับ ลงเสาเข็ม ตั้งศาลพระภูมิ ก่อสร้างวัตถุที่ถาวร หอพัก การพัฒนาการเกษตร เปิดร้าน เปิดโรงงานอุตสาหกรรม สัญญาซื้อขายที่หวังผลระยะยาว อะไรที่เจรจาที่หวังผลสำเร็จในระยะยาวและมั่นคงถาวร (ไม่ฉาบฉวย) ให้ใช้ฤกษ์นี้ และงานมงคลทั้งปวง
 
5. เทศาตรีฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 5 , 14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์"  หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มังกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         เป็นฤกษ์ที่ชอบคนเยอะ ๆ เช่น คนมาเที่ยว รื่นเริง บันเทิง สนุกสนาน เช่น เปิดโรงแรม เปิดสรรพสินค้า เปิดอาบ อบ นวด เปิดสถานบันเทิง เงินแสดงคอนเสิร์ตของนักดนตรี เปิดบูธแสดงสินค้า หรือกิจการที่ต้องการให้คนต่างประเทศมาเที่ยว รวมทั้งการทำอะไรที่สนุกสนาน รื่นเริง ฟุ่มเฟือย (บาร์ ไนต์คลับ โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร โรงแรม ตลาดสด ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์)
 
6. เทวีฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 6, 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และการสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขา ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         ฤกษ์สู่ขอ หมั้น แต่งงาน ขอความช่วยเหลือจากสตรี (ผู้หญิง) ฤกษ์ที่ใช้ความโอ่อ่า หรูหรา สง่า งาม สวย รวมทั้งศิลปะ ออกแบบ ตกแต่ง สวย หรู เช่น โชว์อัญมณี เครื่องประดับ ให้ใช้ฤกษ์นี้
 
7. เพชฌฆาตฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 7, 16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก"  คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่างๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด  ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยากๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         ฤกษ์แห่งความเด็ดขาด เผด็จการ งานปราบปราม กำจัดศัตรู ทำพิธี ไสยศาสตร์ ฤกษ์ที่ต้องการใช้ความเด็ดขาด กล้าหาญ การตัดสินใจที่เด็ดขาด จะเลิกกับแฟนให้ใช้ฤกษ์นี้ได้ หรือสามีภรรยาจะหย่ากันให้ใช้ฤกษ์นี้ การผ่าตัด การปลูกเสกของขลัง ใช้ฤกษ์นี้ได้ ฤกษ์นี้สามารถใช้ในการเปลี่ยนชื่อได้ เพราะต้องการความมั่งคง หนักแน่น ไม่ต้องต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก
 
8. ราชาฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 8, 17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

         ฤกษ์สูง ฤกษ์ใหญ่โต เป็นฤกษ์ของบุคคลชั้นสูง มีเกียรติ หรือว่างานนั้นมีผู้ใหญ่ เจ้านายมาร่วมทำพิธีด้วย ฤกษ์นี้ใช้ได้กับงานมงคลทั้งปวง
 
9. สมโณฤกษ์

         ได้แก่ฤกษ์ที่ 9, 18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า (สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์" จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต

         เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และการกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

          ฤกษ์สงบ บวชพระ สึกพระ งานเกี่ยวกับศาสนา งานที่ไม่หวังผลรวดเร็ว ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการช่วงชิงกับผู้อื่น งานการกุศลทั้งปวง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ หรือถาวรวัตถุ งานพุทธาภิเษก หล่อพระ ปฏิบัติธรรม เรียนธรรมะ เปิดสำนักโหรดูดวง เปิดห้องสมุด เปิดสถานที่สาธารณะ ทำบุญต่ออายุ ต่อชะตา ขึ้นบ้านใหม่ เปิดมูลนิธิ เผยแพร่ศาสนา งานการกุศลทั้งหลาย



                 ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนมกราคม 25567 คลิกที่นี่ค่ะ

                ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 คลิกที่นี่ค่ะ

            
ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนมีนาคม 2557 คลิกที่นี่ค่ะ

            
ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนเมษายน 2557 คลิกที่นี่ค่ะ

               
ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนพฤษภาคม 2557 คลิกที่นี่ค่ะ

               ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนมิถุนายน 2557 คลิกที่นี่ค่ะ

                ดูวันดี ฤกษ์ดีในเดือนกรกฎาคม 2557 คลิกที่นี่ค่ะ



 




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ฤกษ์ดี วันดี เดือนสิงหาคม 2557 อัปเดตล่าสุด 15 สิงหาคม 2557 เวลา 12:58:53 3,989 อ่าน
TOP
x close