x close

คาถาธารณปริตร 9 จบ บทสวดเสริมดวง แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันภัยพิบัติ

          คาถาธารณปริตร หรือ บทสวดพระปริตร สวดเพื่ออะไร มีอานุภาพอย่างไรบ้าง และมีวิธีการสวดบูชาอย่างไรให้เห็นผล ตามมาดูพร้อมกัน
บทสวดพระปริตร

          ในปัจจุบันบทสวดมนต์นั้นมีมากมายหลายบท หลายคาถา และหนึ่งในบทสวดยอดนิยมก็คือ คาถาธารณปริตร หรือ บทสวดพระปริตร ซึ่งเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าจะป้องกันภัยพิบัติและภยันตรายต่าง ๆ ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย รวมทั้งยังเสริมดวงและโชคลาภ สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักคาถานี้และอยากรู้ว่ามีอานุภาพอย่างไร ต้องสวดยังไงถึงจะได้ผลดี วันนี้กระปุกดอทคอมมีบทสวดพระคาถาธารณปริตร พร้อมคำแปลมาฝากกัน

พระคาถาธารณปริตร ประวัติ

          ครั้งหนึ่ง พระวิรัตน์ อัคคธัมโม ได้มีโอกาสออกวิเวก เจริญรุกขมูลธุดงค์ทางภาคเหนือ และชายแดนฝั่งพม่า เขตติดต่อพรมแดนในแวดวงหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นานเกือบ 3 เดือน ขณะที่ปักกลดพักที่ดอยพระพุทธบาทห้วยต้ม ได้พบและปรึกษาธรรม รวมทั้งปฏิบัติศาสนกิจอื่น ๆ กับพระอาจารย์รังสรรค์ โชติปาโล ซึ่งเพิ่งธุดงค์เดินป่ามาจากพม่า และได้จดจำเอา พระธารณปริตร จากวัดอรัญตะยา ในมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า มาด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทสวดสรรเสริญพุทธคุณที่ในประเทศไทยเรายังไม่คุ้นเคยหรือมีมาก่อน แม้จะน้อมนำทำน้ำพุทธมนต์โปรดหมู่ญาติโยมในที่ต่าง ๆ ก็ศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณ

อานุภาพ พระคาถาธารณปริตร

          เชื่อกันว่าสวดวันละ 1 จบ จะช่วยรักษาคุ้มครองตนให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุเภทภัยนานาสารพัด ทั้งจากศัตรูและจากภัยธรรมชาติ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “คาถาแก้วสารพัดนึก

บทสวดพระคาถาธารณปริตร

          นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ

          1. พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ

          อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญานัง

          อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง

          ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง

          2. อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต

          สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

          สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

          สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

          3. อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต

          นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ

          นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ

          นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ

          4. อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต

          นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง

          นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา

          5. อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต

          นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง

          นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง

          นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง

          นัตถิ อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง นัตถิ ปัจจุบันนัง เส

          พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง

          อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง

          สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง

บทสวดพระปริตร

          6. อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ

          ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ

          ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ

          ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง

          มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา

          7. ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม

          ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค

          สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

          8. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมา

          สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง

          วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว

          กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธารระเณ

          อัลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

          9. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมา

          สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง

          ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ

          วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

คำแปล พระคาถาธารณปริตร

          (1)

          อันพระชนม์ชีพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ซึ่งบุคคลใดไม่อาจกระทำอันตรายได้ฉันใด

          ขออันตรายทั้งปวงจงอย่าบังเกิดแก่ข้าพเจ้าเฉกเช่นเดียวกัน

          อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบ ไม่มีการปิดกั้น และไม่มีวันถดถอยของพระพุทธองค์ ย่อมมีทั้งในอดีต, ในอนาคต และในปัจจุบัน พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง 3 ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

          (2)

          อันว่ากายกรรมทั้งปวงของพระพุทธองค์ ทรงมีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) เป็นไปตามซึ่งญาณ

          อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของพระพุทธองค์ ทรงมีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) เป็นไปตามซึ่งญาณ

          อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของพระพุทธองค์ ทรงมีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) เป็นไปตามซึ่งญาณ

          พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง 6 ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

          (3)

          ความเสื่อมถอยของพระพุทธประสงค์ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          ความเสื่อมถอยของการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          ความเสื่อมถอยแห่งความเพียร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          ความเสื่อมถอยของวิปัสสนาญาณ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          ความเสื่อมถอยของสมาธิ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          ความเสื่อมถอยของความสุขในอรหัตผล ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง 12 ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

          (4)

          การหัวเราะสรวลเส ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          การพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          พระธรรมที่มิได้ประกอบด้วยเญยยธรรม ๕ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          การกระทำอันหุนหันพลันแล่นขาดวิจารณญาณ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          การปล่อยใจเหม่อลอย ว้าวุ่นใจด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          ความไม่เที่ยงธรรม ขาดซึ่งอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง 18 ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

          ขอความเคารพนอบน้อม จงมีแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์

          (5)

          อันว่าการประพฤติมิชอบ ที่เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต

          อันว่าญาณที่มีเครื่องกระทบ ปิดกั้น และถดถอย ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ไม่มีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) ไม่เป็นไปตามซึ่งญาณ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

          พระธารณปริตรนี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีอะไรเสมอเหมือน เป็นที่พึ่งพึงอาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลายผู้กลัวภัยในวัฏสงสาร อัคคัง ประเสริฐ มะหาเตชัง มีเดชมาก

บทสวดพระปริตร

          (6)

          ดูก่อนอานนท์ ท่านจงท่องจำ สอบถาม และสาธยายพระธารณปริตรนี้เถิด ผู้สวดมนต์นี้เป็นประจำไม่ตายด้วยพิษงู พิษนาค ไม่ตายในน้ำ ในไฟ เป็นผู้พ้นภัยนานา ใครคิดทำร้ายวันเดียวไม่สำเร็จ สองวัน สามวัน สี่วันก็ไม่สำเร็จ ไม่เป็นโรคบ้าใบ้ไร้สติ มนุษย์ แลอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถทำร้ายหรือเบียดเบียนได้

          (7)

          อันว่าพระธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ

          มีอานุภาพ ดั่งดวงอาทิตย์ 7 ดวงขึ้นพร้อมกันในวันโลกาวินาศ

          มีอานุภาพเหมือนตาข่ายเหล็ก คุ้มภัยจากเทวดา นาค ครุฑ ยักษ์ แลรากษส เป็นต้น

          มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย

          มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป

          มีอานุภาพให้พ้นจากโรคต่าง ๆ แม้ในยามปฏิสนธิ คือ ไม่เป็นบ้าใบ้ ไม่ตาบอด ไม่หูหนวก

          มีอานุภาพระงับอุบัติภัยทั้งปวง

          สามารถได้ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้

          ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วก็เจริญเพิ่มพูนขึ้น

          สามารถประหารความมืด เพื่อการเข้าถึงความสว่างได้

          (8)

          ดูก่อนอานนท์ อันพระธารณปริตรนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้ว่า

          พึงกระทำความดี, ไม่กระทำความชั่ว

          พึงนำมาซึ่งกลิ่นรสอันเป็นธรรม, ไม่พึงนำมาซึ่งธรรมอันไม่บริสุทธิ์

          พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี, ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจชั่ว

          พึงสมาคมกับคนดี, ไม่พึงสมาคมกับคนชั่ว

          พึงทำกายให้เป็นกายดี, ไม่ทำกายให้เสื่อมด้วยมลทิน

          พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล, ไม่นำมาซึ่งสิ่งอกุศล

          พึงหลับฝันแต่สิ่งดี, ไม่พึงหลับฝันร้าย

          พึงเห็นแต่นิมิตที่ดี, ไม่พึงเห็นนิมิตร้าย

          ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นคืนได้, ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามด้วยความจริง

          สามารถประหารความมืด เพื่อการเข้าถึงความสว่างได้

          (9)

          ดูก่อนอานนท์ อันพระธารณปริตรนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้ว่า

          รู้ความคิดร้ายของผู้อื่น,

          แคล้วคลาดจากอาวุธ แลเครื่องประหารทุกชนิด

          สามารถทำให้เวทมนตร์คาถาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น

          กำจัดปัดเป่าอันตรายจากโรคต่าง ๆ ได้

          รอดปลอดภัยจากโรคร้ายแรง

          หลุดพ้นจากเครื่องจองจำ พันธนาการได้

          ด้วยอำนาจแห่งคำสัจจ์นี้

          ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ

          สำหรับคนที่สวดพระคาถาธารณปริตร ป้องกันภัย แคล้วคลาดกันแล้ว ก็ต้องดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพราะพระคาถาเป็นเพียงตัวช่วยเสริมดวง ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับตัวเราด้วยว่าจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

ขอบคุณข้อมูลจาก : thammatan.com, palungjit.org, baanjompra.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คาถาธารณปริตร 9 จบ บทสวดเสริมดวง แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันภัยพิบัติ อัปเดตล่าสุด 4 มีนาคม 2567 เวลา 13:58:50 28,166 อ่าน
TOP