บทสวดกรณียเมตตสูตร คืออะไร
ที่มาของบทสวดกรณียเมตตสูตร
บทสวดกรณียเมตตสูตรมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้สอนพระกรรมฐานแก่พระภิกษุราว 500 รูป ในป่าหิมวันต์ หลังจากได้เรียนรู้พระภิกษุก็แยกย้ายกันไปเจริญกรรมฐานตามใต้ต้นไม้ รุกขเทวดาที่สถิตอยู่คิดว่าภิกษุเหล่านี้ต้องนั่งสมาธิเป็นเวลานาน ทำให้พวกตนลำบาก จึงรวมตัวกันจำแลงแปลงกายให้น่ากลัวแล้วหลอกหลอนเพื่อขับไล่พระภิกษุ
เหล่าภิกษุถูกรบกวนอย่างหนักจนหาความสงบไม่ได้ จึงพากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสพระคาถากรณียเมตตสูตร ให้พระภิกษุร่วมกันเจริญเมตตา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และเป็นมิตรต่อสรรพสัตว์ แล้วกลับไปเจริญพระกรรมฐานตามเดิม พร้อมกับสวดพระคาถาบทนี้ให้แก่รุกขเทวดา รวมถึงมารผจญทั้งหลาย เมื่อรุกขเทวดาได้รับฟังกรณียเมตตสูตรก็มีจิตใจที่อ่อนโยน ร่วมอนุโมทนาและคุ้มครองภัยให้เหล่าภิกษุสามารถบรรลุพระกรรมฐานได้
บทสวดกรณียเมตตสูตร พร้อมคำแปล
เริ่มสวดภาวนา ตั้งนะโม 3 จบ
บทขัดกรณียเมตตสูตร
“ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนังยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโตสุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติเอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ”
เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรใด พวกยักษ์ทั้งหลายไม่แสดงอาการอันน่าสะพรึงกลัว อนึ่ง บุคคลไม่เกียจคร้าน เจริญพระปริตรใดเนือง ๆ ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมหลับเป็นสุข ทั้งหลับแล้วก็ไม่ฝัน เห็นอารมณ์ชั่วร้ายใด ๆ เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้น อันประกอบด้วยคุณอย่างนี้กันเถิด
บทสวดกรณียเมตตสูตร
“กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง”
“เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ”
แปลได้ว่า ผู้ฉลาดที่หวังบรรลุธรรม ควรมีความเพียร เป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง เคร่งครัด ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง ควรเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีปัญญารักษาตน ไม่คะนอง ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย ไม่ควรประพฤติความเสียหายใด ๆ ที่จะเป็นเหตุให้ผู้อื่นตำหนิเอาได้
ควรแผ่เมตตาด้วยบทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะมีรูปกายหรือขนาดกายเช่นไร ก็ให้มีแต่ความสุข ไม่ว่าจะเป็นเหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ภูตผีหรือสัมภเวสีทั้งหลาย ขอให้สัตว์เหล่านั้นเป็นสุขเถิด ไม่ควรข่มเหง และไม่ควรดูหมิ่นกันในทุกโอกาส ไม่ปรารถนาทุกข์แก่กัน ไม่โกรธ ไม่แค้น ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้เหมือนมารดาที่เฝ้าถนอมบุตรด้วยชีวิต
ผู้แผ่เมตตาก็ควรครองสติไว้ตลอดเวลา อยู่ด้วยเมตตา อยู่ด้วยพรหมวิหาร ไม่ยึดถือทิฏฐิ มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ กําจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป
บทสวดกรณียเมตตสูตร หลวงพ่อจรัญ
บทสวดกรณียเมตตสูตร อานิสงส์ช่วยเรื่องอะไรบ้าง
บทสวดกรณียเมตตสูตร ควรสวดตอนไหน
สามารถสวดบทกรณียเมตตสูตรได้เป็นประจำทุกวัน พระภิกษุสงฆ์ในบางวัดก็มีการสวดบทสวดนี้ในการทำวัตรเย็น แต่สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยก็สามารถสวดในเวลาที่ต้องการสร้างขวัญและกำลังใจหรือในเวลาคับขันได้ เช่น ในสถานการณ์ที่ต้องพบกับผู้ที่ไม่ค่อยชอบเรา เวลาสัมภาษณ์งาน พบลูกค้า เพื่อให้ผู้คนเมตตาชื่นชอบในตัวเรา รวมถึงการขับรถเพื่อให้เทวดาคุ้มครอง
การสวดมนต์บทกรณียเมตตสูตร ไม่เพียงแต่ช่วยให้เทวดาเมตตาอารักขาเท่านั้น แต่ยังสอนการปฏิบัติตัวให้ดีงาม มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ถ้าทำควบคู่กันก็จะช่วยให้เราเป็นที่รักของทั้งมนุษย์และสรรพสัตว์ต่าง ๆ ได้ยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, watpamahachai.net, mokkalana.com, th.wikipedia.org