ยามอุบากอง ดูฤกษ์ยามแบบโบราณ ทั้ง ดูดวงยามอุบากองการขับรถเดินทางไกล ฤกษ์ยามอุบากองออกรถ งานสำคัญ เป็นต้น
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
ความเชื่อในเรื่องของศาสตร์พยากรณ์เป็นเรื่องที่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล
ในสมัยก่อนไม่ว่าจะประกอบกิจการอะไร หรือลงมือจะทำสิ่งใด
ก็ต้องดูฤกษ์ดูยาม เพื่อให้กิจการต่าง ๆ นั้น ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
ราบรื่น และเจริญก้าวหน้า หรือแม้กระทั่งแต่เรื่องเล็ก ๆ
เช่นการสวมใส่เสื้อในวันต่าง ๆ บางคนก็ต้องยึดสี สีไหนในวันนี้ดี
หรือวันนี้สีไหนจะเป็นกาลกิณี เป็นต้น
เฉกเช่นการดูฤกษ์ยามที่กระปุกดอทคอมนำมาเสนอในวันนี้ เป็นการดูฤกษ์ยามสมัยโบราณที่เรียกว่า "ยามอุบากอง" ซึ่งใช้ดูเมื่อตอนเวลาเดินทาง, จะออกรถ, พบลูกค้า, นำเสนองาน, เข้าพบเจ้านาย, หรือทำการสำคัญต่าง ๆ ถ้าหากยึดเวลาตาม "ยามอุบากอง" ก็จะทำสิ่งนั้น ๆ ได้สำเร็จ และได้ผลดีตามที่ตั้งใจเอาไว้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเราด้วย
ยามอุบากองคืออะไร
ยามอุบากอง หรือ ยามพม่าแหกคุก คือ การดูฤกษ์ยามชนิดหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเชื่อกันว่า เป็นยามที่เอาไว้ดูวัน เวลา ที่เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ต่างยึดยามอุบากองในการใช้ชีวิตประจำวัน และเชื่อกันอย่างจริงจังเลยทีเดียว
โดยประวัติความเป็นมาของ ยามอุบากอง จาก ตำราพรหมชาติ ก็คือ เป็นชื่อของทหารนายหนึ่งนามว่า "อุบากอง" นายทหารยศขุนพล ที่ได้คุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อแรม 1 ค่ำ เดือนห้า (5) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 คราวที่พระเจ้าปะดุง ยก 9 ทัพมาตีไทยนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏ อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อขึ้น 8 ค่ำ เดือนหก (6) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่าอุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย เพราะมีพ่อเป็นเชื้อสายพม่า แต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตาพระราชทานเสื้อผ้าและให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)
ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำคุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตราให้กับพรรคพวก ซึ่งยามนี้สามารถแหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้ตามที่บอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดีจึงสามารถพากันแหกคุกวัดโพธิ์หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวกพากันหลบหนีไปยังเมืองพม่าได้
แต่ยามที่อุบากองบอกกับพรรคพวกนี้นั้น บังเอิญมีนักโทษพม่าที่เป็นเชื้อสายไทยบางคนไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกันและให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง อนึ่งยามดังกล่าวปรากฏว่ามีผู้นับถือว่าแม่นยำ ได้ผลจริง ๆ จึงศึกษาเล่าเรียนสืบ ๆ กันมาตราบเท่าทุกวันนี้
วิธีดูยามอุบากอง มี 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 การดูยามอุบากอง "วัน+เวลา"
แบบที่ 1 การดูยามอุบากอง "วัน+เวลา" ซึ่งตารางยามอุบากองชนิดนี้ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยจะมีรูปแบบคือ วันทั้ง 7 (จันทร์ - อาทิตย์) และแบ่งช่วงเวลาเป็นกลางวัน 5 ยาม กลางคืน 5 ยาม ดังนี้
กลางวัน
เช้า : 06.01 น. ถึง 08.24 น.
สาย : 08.25 น. ถึง 10.48 น.
เที่ยง : 10.49 น. ถึง 13.12 น.
บ่าย : 13.13 น. ถึง 15. 36 น.
เย็น : 15.37 น. ถึง 18.00 น.
กลางคืน
ยามที่ 1 : 18.01 น. ถึง 20.24 น.
ยามที่ 2 : 20.25 น. ถึง 22.48 น.
ยามที่ 3 : 22.49 น. ถึง 01.12 น.
ยามที่ 4 : 01.13 น. ถึง 03.36 น.
ยามที่ 5 : 03.37 น. ถึง 06.00 น.
โดยมีความหมายตามตารางดังนี้
ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
- ศูนย์หนึ่ง หรือ ศูนย์เดียว หมายถึง อย่าเพิ่งเดินทาง หรือออกนอกบ้าน เพราะจะไม่ดี อันตราย หรือมีภัย
- สองศูนย์ หมายถึง เป็นช่วงเวลาที่ดี ให้เร่งออกจากบ้าน จะทำให้มีโชคลาภ
- ปลอดศูนย์ (ไม่มีศูนย์) หมายถึง จะไม่มีทั้งโชค และไม่มีทั้งเคราะห์
- กากบาท หมายถึง ห้ามออกจากบ้าน ห้ามเดินทาง เพราะอาจจะเจอเคราะห์ร้าย หรือโชคไม่ดี
- สี่ศูนย์ หมายถึง เป็นช่วงเวลาที่ดีมาก เหมาะกับทำการสำคัญ และเดินทาง จะสำเร็จ มีโชคลาภ และโชคดีทุกประการ
สำหรับการดูยามตามแบบที่ 1 (วัน+เวลา) อย่างแรกเลยต้องดูที่วันที่ก่อนว่าวันที่เราต้องการดูคือวันอะไร โดยจะนับวันใหม่ของวันเมื่อเวลา 06.00 น. ตามการดูวันแบบโบราณ ซึ่งตรงนี้ที่แตกต่างจากยามปัจจุบันตามสากลที่นับเวลาตามเที่ยงคืนของวัน จากนั้นก็เปรียบเทียบในตาราง เช่น...
ต้องการเดินทางออกจากบ้านวันอังคาร เวลา 18.30 น. เมื่อดูตามตารางแล้ว จะตกอยู่ในช่อง กลางคืน มีวงกลมสองอัน นั้นหมายความว่า "สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี" นั่นเอง
แบบที่ 2 การดูยามอุบากอง "ค่ำขึ้นแรม+เวลา"
การดูยามแบบ ค่ำขึ้นแรม + เวลานั้น ก็คล้าย ๆ กับการดูแบบที่ 1 แต่จะต่างกันตรงคืนแรมจะมีตารางที่แตกต่างกันออกไป คือถ้าเป็นข้างขึ้นก็สามารถยึดตารางเดิมดูได้เลย แต่ถ้าเป็นข้างแรมต้องกลับเวลาจากเย็นไปเช้าดังนี้
แบบข้างขึ้น
กลางวัน
เช้า : 06.01 น. ถึง 08.24 น.
สาย : 08.25 น. ถึง 10.48 น.
เที่ยง : 10.49 น. ถึง 13.12 น.
บ่าย : 13.13 น. ถึง 15. 36 น.
เย็น : 15.37 น. ถึง 18.00 น.
กลางคืน
ยามที่ 1 : 18.01 น. ถึง 20.24 น.
ยามที่ 2 : 20.25 น. ถึง 22.48 น.
ยามที่ 3 : 22.49 น. ถึง 01.12 น.
ยามที่ 4 : 01.13 น. ถึง 03.36 น.
ยามที่ 5 : 03.37 น. ถึง 06.00 น.
แบบข้างแรม
กลางวัน
เย็น : 15.37 น. ถึง 18.00 น.
บ่าย : 13.13 น. ถึง 15. 36 น.
เที่ยง : 10.49 น. ถึง 13.12 น.
สาย : 08.25 น. ถึง 10.48 น.
เช้า : 06.01 น. ถึง 08.24 น.
กลางคืน
ยามที่ 5 : 03.37 น. ถึง 06.00 น.
ยามที่ 4 : 01.13 น. ถึง 03.36 น.
ยามที่ 3 : 22.49 น. ถึง 01.12 น.
ยามที่ 2 : 20.25 น. ถึง 22.48 น.
ยามที่ 1 : 18.01 น. ถึง 20.24 น.
ส่วนการดูยามในแบบที่ 2 นี้ วิธีการดูก็เหมือนแบบที่ 1 ต้องการดูวันข้างขึ้น วันข้างแรม เวลาไหน แล้วก็ยึดดูคำทำนายตามตาราง เช่น วันนี้เป็นข้างขึ้น วันอาทิตย์ ต้อออกไปเสนองานแก่ลูกค้าในเวลา 18.20 น. เมื่อดูตารางแล้ว จะตกอยู่ในช่องที่มีวงกลม 2 อัน ซึ่งหมายความว่า "สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา"
อย่างไรก็ตาม การดูยามอุบากอง เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่มาแต่ช้านาน ยังไงก็ใช้วิจารณญาณในการอ่านนะคะ
ข้อมูลจาก : myhora.com, ตำราพรหมชาติ
เฉกเช่นการดูฤกษ์ยามที่กระปุกดอทคอมนำมาเสนอในวันนี้ เป็นการดูฤกษ์ยามสมัยโบราณที่เรียกว่า "ยามอุบากอง" ซึ่งใช้ดูเมื่อตอนเวลาเดินทาง, จะออกรถ, พบลูกค้า, นำเสนองาน, เข้าพบเจ้านาย, หรือทำการสำคัญต่าง ๆ ถ้าหากยึดเวลาตาม "ยามอุบากอง" ก็จะทำสิ่งนั้น ๆ ได้สำเร็จ และได้ผลดีตามที่ตั้งใจเอาไว้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเราด้วย
ยามอุบากองคืออะไร
ยามอุบากอง หรือ ยามพม่าแหกคุก คือ การดูฤกษ์ยามชนิดหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเชื่อกันว่า เป็นยามที่เอาไว้ดูวัน เวลา ที่เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ต่างยึดยามอุบากองในการใช้ชีวิตประจำวัน และเชื่อกันอย่างจริงจังเลยทีเดียว
โดยประวัติความเป็นมาของ ยามอุบากอง จาก ตำราพรหมชาติ ก็คือ เป็นชื่อของทหารนายหนึ่งนามว่า "อุบากอง" นายทหารยศขุนพล ที่ได้คุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อแรม 1 ค่ำ เดือนห้า (5) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 คราวที่พระเจ้าปะดุง ยก 9 ทัพมาตีไทยนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏ อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อขึ้น 8 ค่ำ เดือนหก (6) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่าอุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย เพราะมีพ่อเป็นเชื้อสายพม่า แต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตาพระราชทานเสื้อผ้าและให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)
ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำคุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตราให้กับพรรคพวก ซึ่งยามนี้สามารถแหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้ตามที่บอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดีจึงสามารถพากันแหกคุกวัดโพธิ์หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวกพากันหลบหนีไปยังเมืองพม่าได้
แต่ยามที่อุบากองบอกกับพรรคพวกนี้นั้น บังเอิญมีนักโทษพม่าที่เป็นเชื้อสายไทยบางคนไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกันและให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง อนึ่งยามดังกล่าวปรากฏว่ามีผู้นับถือว่าแม่นยำ ได้ผลจริง ๆ จึงศึกษาเล่าเรียนสืบ ๆ กันมาตราบเท่าทุกวันนี้
วิธีดูยามอุบากอง มี 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 การดูยามอุบากอง "วัน+เวลา" ซึ่งตารางยามอุบากองชนิดนี้ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยจะมีรูปแบบคือ วันทั้ง 7 (จันทร์ - อาทิตย์) และแบ่งช่วงเวลาเป็นกลางวัน 5 ยาม กลางคืน 5 ยาม ดังนี้
กลางวัน
เช้า : 06.01 น. ถึง 08.24 น.
สาย : 08.25 น. ถึง 10.48 น.
เที่ยง : 10.49 น. ถึง 13.12 น.
บ่าย : 13.13 น. ถึง 15. 36 น.
เย็น : 15.37 น. ถึง 18.00 น.
กลางคืน
ยามที่ 1 : 18.01 น. ถึง 20.24 น.
ยามที่ 2 : 20.25 น. ถึง 22.48 น.
ยามที่ 3 : 22.49 น. ถึง 01.12 น.
ยามที่ 4 : 01.13 น. ถึง 03.36 น.
ยามที่ 5 : 03.37 น. ถึง 06.00 น.
โดยมีความหมายตามตารางดังนี้
ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
- ศูนย์หนึ่ง หรือ ศูนย์เดียว หมายถึง อย่าเพิ่งเดินทาง หรือออกนอกบ้าน เพราะจะไม่ดี อันตราย หรือมีภัย
- สองศูนย์ หมายถึง เป็นช่วงเวลาที่ดี ให้เร่งออกจากบ้าน จะทำให้มีโชคลาภ
- ปลอดศูนย์ (ไม่มีศูนย์) หมายถึง จะไม่มีทั้งโชค และไม่มีทั้งเคราะห์
- กากบาท หมายถึง ห้ามออกจากบ้าน ห้ามเดินทาง เพราะอาจจะเจอเคราะห์ร้าย หรือโชคไม่ดี
- สี่ศูนย์ หมายถึง เป็นช่วงเวลาที่ดีมาก เหมาะกับทำการสำคัญ และเดินทาง จะสำเร็จ มีโชคลาภ และโชคดีทุกประการ
สำหรับการดูยามตามแบบที่ 1 (วัน+เวลา) อย่างแรกเลยต้องดูที่วันที่ก่อนว่าวันที่เราต้องการดูคือวันอะไร โดยจะนับวันใหม่ของวันเมื่อเวลา 06.00 น. ตามการดูวันแบบโบราณ ซึ่งตรงนี้ที่แตกต่างจากยามปัจจุบันตามสากลที่นับเวลาตามเที่ยงคืนของวัน จากนั้นก็เปรียบเทียบในตาราง เช่น...
ต้องการเดินทางออกจากบ้านวันอังคาร เวลา 18.30 น. เมื่อดูตามตารางแล้ว จะตกอยู่ในช่อง กลางคืน มีวงกลมสองอัน นั้นหมายความว่า "สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี" นั่นเอง
แบบที่ 2 การดูยามอุบากอง "ค่ำขึ้นแรม+เวลา"
การดูยามแบบ ค่ำขึ้นแรม + เวลานั้น ก็คล้าย ๆ กับการดูแบบที่ 1 แต่จะต่างกันตรงคืนแรมจะมีตารางที่แตกต่างกันออกไป คือถ้าเป็นข้างขึ้นก็สามารถยึดตารางเดิมดูได้เลย แต่ถ้าเป็นข้างแรมต้องกลับเวลาจากเย็นไปเช้าดังนี้
แบบข้างขึ้น
กลางวัน
เช้า : 06.01 น. ถึง 08.24 น.
สาย : 08.25 น. ถึง 10.48 น.
เที่ยง : 10.49 น. ถึง 13.12 น.
บ่าย : 13.13 น. ถึง 15. 36 น.
เย็น : 15.37 น. ถึง 18.00 น.
กลางคืน
ยามที่ 1 : 18.01 น. ถึง 20.24 น.
ยามที่ 2 : 20.25 น. ถึง 22.48 น.
ยามที่ 3 : 22.49 น. ถึง 01.12 น.
ยามที่ 4 : 01.13 น. ถึง 03.36 น.
ยามที่ 5 : 03.37 น. ถึง 06.00 น.
แบบข้างแรม
กลางวัน
เย็น : 15.37 น. ถึง 18.00 น.
บ่าย : 13.13 น. ถึง 15. 36 น.
เที่ยง : 10.49 น. ถึง 13.12 น.
สาย : 08.25 น. ถึง 10.48 น.
เช้า : 06.01 น. ถึง 08.24 น.
กลางคืน
ยามที่ 5 : 03.37 น. ถึง 06.00 น.
ยามที่ 4 : 01.13 น. ถึง 03.36 น.
ยามที่ 3 : 22.49 น. ถึง 01.12 น.
ยามที่ 2 : 20.25 น. ถึง 22.48 น.
ยามที่ 1 : 18.01 น. ถึง 20.24 น.
ส่วนการดูยามในแบบที่ 2 นี้ วิธีการดูก็เหมือนแบบที่ 1 ต้องการดูวันข้างขึ้น วันข้างแรม เวลาไหน แล้วก็ยึดดูคำทำนายตามตาราง เช่น วันนี้เป็นข้างขึ้น วันอาทิตย์ ต้อออกไปเสนองานแก่ลูกค้าในเวลา 18.20 น. เมื่อดูตารางแล้ว จะตกอยู่ในช่องที่มีวงกลม 2 อัน ซึ่งหมายความว่า "สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา"
อย่างไรก็ตาม การดูยามอุบากอง เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่มาแต่ช้านาน ยังไงก็ใช้วิจารณญาณในการอ่านนะคะ
ข้อมูลจาก : myhora.com, ตำราพรหมชาติ